วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

กราฟสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

สมการเชิงเส้น คือสมการที่แต่ละพจน์มีเพียงค่าคงตัว หรือเป็นผลคูณระหว่างค่าคงตัวกับตัวแปรยกกำลังหนึ่ง ซึ่งจะมีดีกรีของพหุนามเท่ากับ 0 หรือ 1 สมการเหล่านี้เรียกว่า "เชิงเส้น" เนื่องจากสามารถวาดกราฟของฟังก์ชันบนระบบพิกัดคาร์ทีเซียนได้เป็นเส้นตรง รูปแบบทั่วไปของสมการเชิงเส้นในตัวแปร x และ y คือ
y = ax+b
          โดยที่ a คือค่าคงตัวที่แสดงความชันหรือเกรเดียนต์ของเส้นตรง และพจน์ b แสดงจุดที่เส้นตรงนี้ตัดแกน y สำหรับสมการที่มีพจน์ x2, y1/3, xy ฯลฯ ที่มีดีกรีมากกว่าหนึ่งไม่เรียกว่าเป็นสมการเชิงเส้น
 
 
รูปแบบทั่วไป
สมการเชิงเส้นที่ซับซ้อน อย่างเช่นตัวอย่างข้างบน สามารถเขียนใหม่โดยใช้กฎเกณฑ์ของพีชคณิตมูลฐานให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายขึ้น ในสิ่งที่จะอธิบายต่อไปนี้ อักษรตัวใหญ่ใช้แทนค่าคงตัว (ที่ไม่ระบุจำนวน) ในขณะที่ x และ y คือตัวแปร
Ax+By+C=0
เมื่อ A กับ B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน สมการในรูปแบบนี้มักเขียนให้ A 0 เพื่อความสะดวกในการคำนวณ กราฟของสมการจะเป็นเส้นตรง และทุกๆ เส้นตรงสามารถนำเสนอให้อยู่ในรูปแบบข้างต้นนี้ได้ เมื่อ A ไม่เท่ากับ 0 ระยะตัดแกน x จะอยู่ที่ระยะ C/A และเมื่อ B ไม่เท่ากับ 0 ระยะตัดแกน y จะอยู่ที่ระยะ C/B ส่วนความชันของเส้นตรงนี้มีค่าเท่ากับ A/B
รูปแบบมาตรฐาน
Ax+By=C
เมื่อ A และ B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน และทั้ง A, B, C จะต้องเป็นจำนวนเต็มที่มีตัวหารร่วมมากเท่ากับ 1 และมักเขียนให้ A 0 เพื่อความสะดวกเช่นกัน รูปแบบมาตรฐานนี้สามารถแปลงให้เป็นรูปแบบทั่วไปได้ไม่ยากนัก
ข้อสังเกต
1. สมการเชิงเส้นสองตัวแปร เป็นสมการที่มีตัวแปรสองตัวเลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็น 1 และไม่มีการคูณกันของตัวแปร
2. คำตอบของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ที่มี x และ y เป็นตัวแปรได้แก่ค่าของ x และ y ที่ทำให้สมการเป็นจริง นิยมเขียนในรูปคู่อันดับ ( x , y ) เช่น (4,8) จะได้ว่า x = 4 , y = 8
**สมการในรูป y = ax b เรียกว่า รูปมาตรฐานของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดย a เรียกว่าความชันของเส้นตรง ซึ่งค่าของ a และ b จะทำให้ทราบลักษณะกราฟดังนี้คือ
1. ค่าของ a บอกให้ทราบว่ากราฟทำมุมอย่างไรกับแกน x ดังนี้
                         a > 0 กราฟจะทำมุมแหลมกับแกน x
                         a < 0 กราฟจะทำมุมป้านกับแกน x
                         a = 0 กราฟจะขนานกับแกน x
2. ค่าของ b จะบอกให้ทราบว่ากราฟตัดแกน y ที่จุดใด โดยกราฟจะตัดแกน y ที่ ( 0 , b)
3. ถ้าสมการใด ๆ ที่มีค่า a เท่ากัน จะได้กราฟที่ขนานกัน
4. ถ้าสมการใด ๆ ที่มีค่า a คูณกันได้ –1 จะได้กราฟ 2 เส้นตั้งฉากกัน
5. เนื่องจากกราฟของสมการ y = ax b เป็นเส้นตรง ดังนั้นในการเขียนกราฟของสมการดังกล่าวจึงสามารถทำได้โดยการหาจุดเพียง 2 จุด ที่แทน (x, y) แล้วทำให้สมการนั้นเป็นจริง
 

การวัดปริมาตรและน้ำหนัก

 

          หน่วยการวัดปริมาตรและน้ำหนักเป็น ลูกบาศก์หน่วย หรือ ตามหน่วยของปริมาตรและน้ำหนักที่ใช้ในสถานการณ์นั้น ๆ
          การเปลี่ยนหน่วยการวัดปริมาตรและน้ำหนักที่อยู่ในระบบหรือมาตราเดียวกัน สามารถคำนวณได้จากการเปลี่ยนหน่วยการวัดปริมาตรและน้ำหนักตามความสัมพันธ์ของหน่วยในระบบหรือมาตรานั้น
          การเปรียบเทียบปริมาตรและน้ำหนักที่มีหน่วยการวัดปริมาตรที่ต่างระบบหรือต่างมาตรา จำเป็นต้องทำให้มีหน่วยการวัดปริมาตรและน้ำหนักให้เป็นอย่างเดียวกันก่อน



 
 
การเปลี่ยนหน่วยการวัดปริมาตรและน้ำหนักในระบบหรือมาตราเดียวกัน
          สามารถคำนวณได้จากการเปลี่ยนหน่วยการวัดความยาวตามความสัมพันธ์ของหน่วยในระบบหรือมาตรานั้น ซึ่งมีหลักการดังนี้
          1. การเปลี่ยนจากหน่วยใหญ่เป็นหน่วยย่อย ใช้วิธีการคูณ
          2. การเปลี่ยนจากหน่วยย่อยเป็นหน่วยใหญ่ ใช้วิธีการหาร

 


ตัวอย่าง

          1. นิดดื่มน้ำวันละ 2 แก้ว แก้วละ 8 ออนซ์ ในแต่ละวันนิดต้องดื่มน้ำกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร
                   เนื่องจาก 8 ออนซ์               เท่ากับ 1 ถ้วยตวง
                   นม 2 แก้ว แก้วละ 8 ออนซ์ คิดเป็นนม 3 ถ้วยตวง
                   เนื่องจาก 1 ถ้วยตวง เท่ากับ 240 ลูกบาศก์เซนติเมตร
                   ดังนั้น นม 2 ถ้วยตวง คิดเป็นนม 2 x 240 = 480 ลูกบาศก์เซนติเมตร
                   นั่นคือ นิดดื่มนมวันละ 480 ลูกบาศก์เซนติเมตร

                     ตอบ 480 ลูกบาศก์เซนติเมตร
 
 

         http://www.kr.ac.th/ebook2/apichat/03.html

สามเหลี่ยมและความเท่ากันทุกประการ

พิจารณารูปสามเหลี่ยมABC กับ DEF
 
 


รูปสามเหลี่ยม ABC และ DEF เท่ากันทุกประการเนื่องจากมีคุณสมบัติตามนิยามต่อไปนี้

นิยามของความเท่ากันทุกประการ

1. รูปสองรูปเท่ากันทุกประการเมื่อรูปหนึ่งทับอีกรูปหนึ่งได้สนิทพอดี
2. ส่วนของเส้นตรงสองเส้นจะเท่ากันทุกประการ เมื่อส่วนของเส้นตรงนั้นยาวเท่ากัน
3. มุมสองมุมจะเท่ากันทุกประการ เมื่อมุมทั้งสองมุมมีขนาดเท่ากัน
ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม

นิยาม รูปสามเหลี่ยม ABC คือ รูปที่ประกอบด้วยส่วนของเส้นตรงสามเส้น , และ เชื่อมต่อจุด A,B และ C ว่าจุดยอดมุมของรูปสามเหลี่ยม ABC
รูปสามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการเมื่อด้านและมุมของรูปสามเหลี่ยมทั้งสองมีขนาดเท่ากันเป็นคู่ๆ

ความสัมพันธ์ของสามเหลี่ยมในรูปแบบต่างๆ

1. ความสัมพันธ์ของสามเหลี่ยมในแบบด้าน-มุม-ด้าน(ด.ม.ด.)
นิยาม ถ้ารูสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีด้านยาวเท่ากันสองคู่และขนาดของมุมในระหว่างด้านคู่ที่ยาวเท่ากัน เท่ากันแล้ว รูปสามเหลี่ยมสองรูปนั้นจะเท่ากันทุกประการ

2. ความสัมพันธ์ของสามเหลี่ยมในแบบมุม-ด้าน-มุม(ม.ด.ม.)
นิยาม ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีมุมที่มีขนาดเท่ากันสองคู่ และด้านซึ่งเป็นแขนร่วมของมุมทั้งสองที่มีขนาดเท่ากัน ยาวเท่ากันด้วยแล้ว รูปสามเหลี่ยมสองนั้นจะเท่ากันทุกประการ

3. ความสัมพันธ์ของสามเหลี่ยมในแบบด้าน-ด้าน-ด้าน(ด.ด.ด.)
นิยาม ถ้ารูปสามเหลี่ยมสองรูปใดๆ มีด้านยาวเท่ากันสามคู่แล้ว รูปสามเหลี่ยมนั้นจะเท่ากันทุกประการ

 


เลขฐานสิบ

          เลขฐานสิบ หรือ ทศนิยม (Decimal) หมายถึง ระบบตัวเลขที่มีตัวเลข 10 ตัว คือ 0 – 9

สัญลักษณ์แทนเลขฐานสิบ
          การเขียนจำนวนในรูปทศนิยมคือการเขียนจำนวนให้อยู่ในรูปเลขฐานสิบ ซึ่งมีสัญลักษณ์อยู่ 10 ตัว (0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 และ 9) และอาจมีการใช้ร่วมกับจุดทศนิยม สำหรับจำนวนที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม และใช้สัญลักษณ์ + และ เพื่อบอกค่าบวกและค่าลบ
          เลขฐานสิบนี้เป็นเลขฐานปกติที่คนทั่วไปใช้ เนื่องจากมนุษย์มีสิบนิ้ว แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในอดีตก็มีผู้ที่ใช้เลขฐานที่ไม่ใช่ฐานสิบ เช่น ชาวไนจีเรียใช้เลขฐานสิบสอง และชาวบาบิโลเนียนใช้เลขฐานหกสิบ และชาวเผ่ายูกิใช้เลขฐานแปด
         สัญลักษณ์แทนเลขแต่ละหลักนั้น โดยทั่วไปจะใช้เลขอารบิก และเลขอินเดีย ซึ่งมาจากระบบเดียวกัน แต่มีรูปแบบการใช้ที่แตกต่างกัน

ตารางค่าประจำตำแหน่ง (place valuc) ของระบบตัวเลขฐานสิบ มีดังนี้
ข้อสังเกต
1. ในระบบตัวเลขฐานสิบ ค่าประจำตำแหน่งของหลักทางซ้ายมือ จะเป็นสิบเท่าของหลักทางขวามือเสมอ
2. ในระบบตัวเลขฐานสิบ ค่าของตัวเลขแต่ละตัวของจำนวนใด ๆ จะเท่ากับตัวเลขโดด คูณกับค่าประจำตำแหน่งของตัวเลขโดดนั้น
           
ตัวอย่างการเขียนตัวเลขแทนจำนวนในรูปการกระจาย เช่น
          5,432   =  (5x1000)+(4x100)+(3x10)+(2x1)
         789      =  (7x100)+(8x10)+(9x1)
         33        =  (3x10)+(3x1)
         
          ถ้าการเขียนตัวเลขแทนจำนวนใด ๆ ในรูปการกระจายไม่กะทัดรัด ก็อาจใช้วิธีเขียนค่าประจำตำแหน่งให้สั้นลงโดยใช้เลขยกกำลัง เช่น
          857,425 = (8x105)+(5x104)+(7x103)+(4x102)+(2x10)+(5x1)
          8,763     = (8x103)+(7x102)+(6x10)+(3x1)
 

 


จุด เส้นตรง ส่วนของเส้นตรงและรังสี

      ในทางคณิตศาสตร์มีค่าบางค่าที่ใช้เป็นพื้นฐานในการสื่อความหมาย  โดยไม่ต้องให้นิยาม คำเหล่านี้เป็นคำอนิยาม  และในทางเรขาคณิตถือว่า จุด เส้นตรง และระนาบ เป็นคำอนิยาม
      จุด  ใช้เพื่อแสดงตำแหน่ง สัญลักษณ์ที่ใช้คือ .  และเขียนตัวอักษรกำกับไว้เพื่อต้องการระบุชื่อจุด 
เช่น .  A แทน จุด A

       เส้นตรง เส้นตรงมีความยาวไม่จำกัด  และไม่คำนึงถึงความกว้างของเส้นตรง
       รังสี คือส่วนหนึ่งของเส้นตรงที่มีจุดปลายเพียงจุดเดียว
      ส่วนของเส้นตรง    คือ  ส่วนหนึ่งของเส้นตรงที่มีจุดปลาย  2 จุด
      จุดตัด  จุดตัด เกิดจากส่วนของเส้นตรง หรือเส้นตรง หรือรังสี ตั้งแต่สองเส้นขึ้นไป ตัดกันหรือพบกัน เช่น
       คำอนิยามเหล่านี้สามารถนำมาสร้างเป็นมุม หรือรูปเรขาคณิตต่าง ๆ ได้มากมาย ตัวอย่างจากวีดีโอข้างล่าง
             ที่มา : http://math2days.blogspot.com/2013/06/blog-post_3806.html


วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนรู้เรื่องมุม

        มุม เกิดจากรังสีหรือส่วนของเส้นตรงสองเส้นที่มีจุดปลายเป็นจุดเดียวกัน จุดนี้เรียกว่า จุดยอดมุม และรังสีหรือส่วนของเส้นตรงแต่ละเส้นเรียกว่า แขนของมุม  และหน่วยในการวัดมุมอาจมีหน่วยเป็นองศาซึ่งเขียนในสัญลักษณ์ "oหรือในหน่วยเรเดียน ซึ่งในหน่วยเรเดียนจะพิจารณาความยาวของส่วนโค้งของวงกลมที่รองรับมุมนั้น จากความยาวรอบรูปของวงกลม (รัศมี 1 หน่วย) คือ 2π มุมฉากจะมีมุม π/2 เรเดียน ในหน่วยองศา วงกลมจะมี 360 องศา ดังนั้นมุมฉากจะมีมุม 90 องศา

พิจารณารูป
จากรูป
เรียกว่า แขนของมุม

ชนิดของมุม
·         มุมขนาด 90° (หรือ π/2 เรเดียน หรือหนึ่งส่วนสี่ของรูปวงกลม) เรียกว่า มุมฉาก (right angle)
·         มุมที่เล็กกว่ามุมฉาก (น้อยกว่า 90°) เรียกว่า มุมแหลม (acute angle)
·         มุมที่ใหญ่กว่ามุมฉากแต่เล็กกว่าสองมุมฉาก (ระหว่าง 90° กับ 180°) เรียกว่า มุมป้าน (obtuse angle)
·         มุมที่มีขนาดเท่ากับสองมุมฉาก (180°) เรียกว่า มุมตรง (straight angle)
·         มุมที่ใหญ่กว่ามุมตรงแต่น้อยกว่ารูปวงกลมเต็มวง (ระหว่าง 180° กับ 360°) เรียกว่า มุมกลับ (reflex angle)
·         มุมที่วัดแล้วได้ขนาดของมุมเท่ากัน เรากล่าวว่ามุมทั้งสองสมภาคกัน (congruence)
·         เมื่อเส้นตรงสองเส้นตัดกันคล้ายตัว X มุมที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของจุดตัดเรียกว่า มุมตรงข้าม (vertical/opposite angle) มุมตรงข้ามแต่ละคู่จะสมภาคกันเสมอ
·         มุมที่มีจุดยอดและรังสีด้านหนึ่งร่วมกัน แต่ไม่กินพื้นที่ซึ่งกันและกัน มุมทั้งสองนั้นเรียกว่า มุมประชิด (adjacent angle)
·         มุมสองมุมที่มีผลรวมของขนาดเท่ากับหนึ่งมุมฉาก (90°) จะเรียกทั้งสองว่าเป็น มุมประกอบมุมฉาก (complementary angles)
·         มุมสองมุมที่มีผลรวมของขนาดเท่ากับสองมุมฉาก (180°) จะเรียกทั้งสองว่าเป็น มุมประกอบสองมุมฉาก (supplementary angles)
·         มุมสองมุมที่มีผลรวมของขนาดเท่ากับหนึ่งรอบรูปวงกลม (360°) จะเรียกทั้งสองว่าเป็น มุมประกอบสี่มุมฉาก (explementary angles)

มุมภายในรูปหลายเหลี่ยม

          เราสามารถหามุมภายในของรูปสามเหลี่ยมได้โดยพิจารณาจุดยอด (A) ของสามเหลี่ยม ลากเส้นตรงที่ผ่านจุด A และขนานกับด้านที่อยู่ตรงข้ามจุด A สมมติเป็น BC จะได้ว่าผลรวมของมุมภายในรูปสามเหลี่ยม คือ 180o เราสามารถหาผลรวมของมุมภายในของรูป n เหลี่ยม ได้โดยอาศัยมุมภายในของรูปสามเหลี่ยม นั่นคือ เลือกจุดยอดใดๆ ของรูป n เหลี่ยม ลากเส้นเชื่อมจุดยอดนั้นกับจุดยอดที่เหลือ จะเกิดสามเหลี่ยม n-2 รูป ดังนั้นมุมภายในของรูป n เหลี่ยมคือ 180(n-2) องศา