สัญลักษณ์แทนเลขฐานสิบ
การเขียนจำนวนในรูปทศนิยมคือการเขียนจำนวนให้อยู่ในรูปเลขฐานสิบ
ซึ่งมีสัญลักษณ์อยู่ 10 ตัว (0, 1,
2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 และ 9) และอาจมีการใช้ร่วมกับจุดทศนิยม สำหรับจำนวนที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม และใช้สัญลักษณ์ + และ − เพื่อบอกค่าบวกและค่าลบเลขฐานสิบนี้เป็นเลขฐานปกติที่คนทั่วไปใช้ เนื่องจากมนุษย์มีสิบนิ้ว แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในอดีตก็มีผู้ที่ใช้เลขฐานที่ไม่ใช่ฐานสิบ เช่น ชาวไนจีเรียใช้เลขฐานสิบสอง และชาวบาบิโลเนียนใช้เลขฐานหกสิบ และชาวเผ่ายูกิใช้เลขฐานแปด
สัญลักษณ์แทนเลขแต่ละหลักนั้น โดยทั่วไปจะใช้เลขอารบิก และเลขอินเดีย ซึ่งมาจากระบบเดียวกัน แต่มีรูปแบบการใช้ที่แตกต่างกัน
ตารางค่าประจำตำแหน่ง (place valuc) ของระบบตัวเลขฐานสิบ มีดังนี้
ข้อสังเกต
1. ในระบบตัวเลขฐานสิบ
ค่าประจำตำแหน่งของหลักทางซ้ายมือ จะเป็นสิบเท่าของหลักทางขวามือเสมอ
2. ในระบบตัวเลขฐานสิบ
ค่าของตัวเลขแต่ละตัวของจำนวนใด ๆ จะเท่ากับตัวเลขโดด คูณกับค่าประจำตำแหน่งของตัวเลขโดดนั้น
ตัวอย่างการเขียนตัวเลขแทนจำนวนในรูปการกระจาย
เช่น
5,432 =
(5x1000)+(4x100)+(3x10)+(2x1)
789 = (7x100)+(8x10)+(9x1)
33 = (3x10)+(3x1)
ถ้าการเขียนตัวเลขแทนจำนวนใด
ๆ ในรูปการกระจายไม่กะทัดรัด ก็อาจใช้วิธีเขียนค่าประจำตำแหน่งให้สั้นลงโดยใช้เลขยกกำลัง
เช่น
857,425 =
(8x105)+(5x104)+(7x103)+(4x102)+(2x10)+(5x1)
8,763
= (8x103)+(7x102)+(6x10)+(3x1)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น